ข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ |
- |
ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 20 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย จากการคัดเลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105´65-G2U-68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสี |
การรับรองพันธุ์ |
- |
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520 |
ลักษณะประจำพันธุ์ | - | เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 154 เซนติเมตร |
- | ไวต่อช่วงแสง | |
- | ทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียว | |
- |
เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล | |
- | อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 21 พฤศจิกายน | |
- | ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ | |
- | เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.9 x 2.7 x 2.0 มิลลิเมตร | |
- | เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.2 x 2.2 x 1.7 มิลลิเมตร | |
- | คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม |
ผลผลิต | - | ประมาณ 666 กิโลกรัมต่อไร่ |
ลักษณะเด่น | - | ให้ผลผลิตสูงและทนแล้งดีกว่าพันธุ์เหนียวสันป่าตอง |
- | คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม | |
- | ลำต้นแข็งปานกลาง | |
- | ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล | |
- | คุณภาพการสีดี | |
ข้อควรระวัง | - | ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคไหม้ |
- | ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว | |
พื้นที่แนะนำ | - | ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |